วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ (Operating Systems)
ระบบปฏิบัติการ เป็นซอฟต์แวร์ระบบที่ประกอบด้วย กลุ่มโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่คอยประสานงานระหว่างผู้ใช้ และฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลักสองประการ ได้แก่ กระทำการและควบคุมการทำงานของโปรแกรมประยุกต์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น และจัดสรรทรัพยากรที่ใช้ร่วมกัน
ในคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีกิจกรรมมากมายซับซ้อนระบบปฏิบัติการจะมีภารกิจหลัก ได้แก่ การจัดการกระบวนการ , การจัดการหน่วยความจำหลัก , การจัดการแฟ้ม , การจัดการระบบ i/o , การจัดการหน่วยเก็บรอง , เครือข่าย , ระบบการอารักขา และระบบตัวแปลคำสั่ง
ส่วนในไมโครคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการจะทำหน้าที่ด้านการบูต , ภารกิจดูแลทั่วไปหรืองานแม่บ้าน , ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ , การจัดการทรัพยากรคอมพิวเตอร์ และการจัดการภารกิจ
การทำงานแบบหลายโปรแกรม คือการใช้งานคอมพิวเตอร์พร้อม ๆ กันโดยโปรแกรมหลายโปรแกรม
การทำงานแบบหลายภารกิจ สมรรถนะการทำงานแบบหลายโปรแกรมของระปฏิบัติการสำหรับผู้ใช้คนเดียว อย่างเช่น ในคอมพิวเตอร์ส่วยบุคคล
มัลติเธรด ระบบปฏิบัติการจะแบ่งกระบวนการออกเป็นหน่วยย่อย เพื่อส่งให้ซีพียูประมวลผลคู่ขนานพร้อม ๆ กันไป
การทำงานแบบหลายตัวประมวลผล การประมวลในเวลาเดียวกันโดยซีพียูหลายตัว ภายใต้การควบคุมการกระทำการกับกลุ่มคำสั่งของโปรแกรมเดียวกันหรือหลายโปรแกรมในเวลาเดียวกัน
หน่วยเก็บเสมือน บางทีเรียกว่าหน่วยความจำเสมือน เป็นเทคนิควิธีในการแบ่งปันหน่วยความจำ โดยวิธีแบ่งส่วนโปรแกรมออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกจะเก็บเฉพาะส่วนที่จะเป็นสำหรับการกระทำการลงในหน่วยความจำหลัก เรียกส่วนนี้ว่าเก็บจริง และส่วนที่เหลือจะเก็บไว้ในพื้นที่ของหน่วยเก็บรอง เรียกว่าหน่วยเก็บเสมือน
ระบบปฏิบัติการยอดนิยม ได้แก่ Dos , Windows , Windows NT , Windows 2000 , OS/2 , Mac Os NetWare , UNIX และ Linux
Dos ระบบปฏิบัติการขนาด 16 บิต มาตรฐานสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูล IBM และ IBM-colne สำหรับผู้ใช้คนเดียว พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ แบ่งเป็น MS-DOS สำหรับเครื่อง IBM-clone, PC-DOS
Windows เปลือกนอกของ GUI ที่ดำเนินงานไปพร้อมกับ ระบบปฏิบัติการ DOS เรียกว่า Windows3x ประกอบด้วยรุ่น 3.0 , 3.1 และ 3.11 for Workgroup พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์
Windows 95/98 ระบบปฏิบัติการ 32 บิต ที่ทรงประสิทธิภาพซึ่งได้รับการปรับปรุงด้านส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แบบกราฟิก พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์
Windows NT ระบบปฏิบัติการ 32 บิต ที่ทรงประสิทธิภาพสำหรับการใช้ไมโครโปรเซสเซอร์แบบ 32 บิต ในสภาพแวดล้อมแบบเครือข่าย สนับสนุนการทำงานแบบหลายภารกิจ แบ่งผลิตภัณฑ์ออกเป็น 2 สาย ได้แก่ Windows NT Workstation และ Windows NT Server พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์
รุ่นถัดมาของสายผลติภัณฑ์ไมโครซอฟต์ในตระกูลวินโดวส์ Windows MC เป็นสายพัฒนาการจาก Windows9x สำหรับผู้ใช้ตามบ้าน ในขณะที่ Windows 2000 มาจากสายของ Windows NT โดย Windows 2000 คือระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ของระบบปฏิบัติการในสายของ Windows NT สร้างขึ้นบนพื้นฐานที่แข็งแกร่งของ Windows NT 4.0 ประกอบด้วย 4 ผลิตภัณฑ์ คือ Windows 2000 , Windows 2000 Server , Windows 2000 Advance Server , Windows 2000 Data Center Server
OS/2 เป็นระบบปฏิบัติการ 32 บิต ที่ทรงประสิทธิภาพสำหรับเครื่อง 32 บิต ตระกูล IBM และ IBM-clone พัฒนาโดย IBM
Mac OS ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องแมคอินทอซของบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ตระกูลโมโตโรลา
NetWare ระบบปฏิบัติการเครือข่ายยอดนิยมสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ที่เชื่อต่อเป็นเครือข่ายเฉพาะบริเวณ พัฒนาบริษัทโนเวล
UNIX ระบบปฏิบัติการ 32 บิต สำหรับหลายผู้ใช้ โดยการจัดเตรียมคุณสมบัติด้านเครือข่าย สามารถใช้ฮาร์ดแวร์ตั้งแต่ไมโครคอมพิวเตอร์จนถึงเมนเฟรม
Linux เป็นระบบปฏิบัติการ 32 บิตที่พัฒนาย่อส่วนจากยูนิกซ์สำหรับพีซี แจกจ่ายให้ฟรีพร้อมรหัสต้นฉบับ มีระบบ X-Window ซึ่งเป็นส่วนต่อประสานกับผู้ใช้

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 2

บทที่ 2

อินเทอร์เน็ตหมายถึง
อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งหมายถึงกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆที่เชื่อมต่อสื่อสารด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์เครือข่ายคอมพิวเตอร์2เครือข่ายติดต่อกันเรียกว่าInternetwork หรือเรียกย่อๆว่า เน็ต
ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
ประเทศไทยติดต่อกับอินเตอร์เน็ตในลักษณะการใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(e-mail)
ต่อมาในในปี 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดเครือข่ายเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายยูยูเน็ต ของบริษัทยูยูเน็ตเทคโนโลยีจำกัด ซึ่งตั้งอยู่ที่รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาและสถาบันการศึกษาหลายแห่งได้ขอเชื่อมกับเครือข่ายของเครือข่ายจุฬาด้วยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่ายไทยเน็ต ในปีเดียวกันศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้เชื่อมกับสถาบันต่างๆ ต่อมาในปีพ.ศ. 2537 ความต้องการในการใช้อินเตอร์เน็ตจากภาครัฐและเอกชนมากยิ่งขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทยจึงได้ร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนเปิดบริการให้ผู้สนใจได้สมัครตั้งขึ้นในรูปแบบบริษัท ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเชิงพานิชย์ ISP
การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ต
ติดต่อสื่อสาร ทางธุรกิจออนไลน์ การศึกษาออนไลน์ การศึกษาวิจัย ข้อมูลข่าวสาร การหางานและสมัครงาน ด้านความบันเทิง
การแทนชื่อที่อยู่ของอินเทอร์เน็ต
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อินเตอร์เน็ต จะติดต่อโดยใช้มาตรฐานโพรโตคอลทีซีพี / ไอพี เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องมีหมายเลขประจำตัวเรียกว่าหมายเลขไอพี ใช้ระบบชื่อโดเมนนั้น หน่วยงาน internet corporation for assigned names and numbers หรือ ICANN จะเป็นหน่วยงานกำหนดมาตรฐานโครงสร้างชื่อโดเมนระดับบนสุด ซึ่งระบุประเภทขององค์การ ชื่อประเทศหรือเครือข่ายแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ
1. แสดงชื่อโดเมน/ประเภทองค์การ
Com องค์การธุรกิจการค้า (commercial organization)
Deu สถาบันการศึกษา (educational institution)
Org องค์การที่ไม่หวังผลกำไร (non-commercial organization)
Gov องค์การของรัฐ (government organization)
2. แสดงชื่อโดเมน/ประเทศ
Ca แคนาดา Jp ญี่ปุ่น Uk อังกฤษ Au ออสเตรเลีย My มาเลเซีย

วิธีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยตรง (Direct internet access)
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยตรงผู้ใช้ต้องมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายหรือแบ็กโบน (back bone) โดยต้องมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นเกตเวย์ (gace way) ในการเชื่อมต่อ
2. การเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์และโมเด็ม(dialup access) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตประเภทนี้จะใช้สายโทรศัพท์ (telephone line) ที่ใช้กับตามบ้านและที่ทำงานทั่วไป โดยใช้ระหว่างคอมพิวเตอร์ติดต่อเครือข่าย โดยใช้อุปกรณ์แปลงสัญญาณที่เรียกว่าโมเดม (modulator / Demodulator หรือ MODE)
เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web หรือWWW.)
ในปีค.ศ.1991 นักเขียนโปรแกรมชาวสวิตเซอร์แลนด์ได้พัฒนาโปรแกรมเพื่อให้อินเทอร์เน็ตใช้งานได้ง่ายขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้สามารถสร้างเอกสารบนอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า เว็บเพ็จ (Web pages) ที่สามารถเชื่อมโยงยังเอกสารที่เกี่ยวข้องกันได้
การเชื่อมโยงนี้เรียกว่า ไฮเปอร์ลิงค์ โดยทั่วไปเรียกว่า (World Wide Web หรือWWW.)
เว็บเพ็จเป็นสื่อต่างๆที่ใช้เชื่อมโยงข้อมูลอาจอยู่ในรูปข้อความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียง การสร้างเว็บเพ็จสามารถใช้ภาษา HTML ในการเขียน
โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser)
โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมใช้กันเช่น Microsoft Internet Explorer หน้าแรกของเว็บเพ็จนี้เรียกว่า โฮมเพ็จ (home page) การเข้าไปยังเว็บเพ็จของเว็บใดๆ ผู้ใช้ต้องระบุที่อยู่ โดยใช้ URL
บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต
1. ไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail)
2. การสนทนาออนไลน์ (online chat)
3. เทลเน็ต (telnet)
4. การขนถ่ายไฟล์ (file transfer protocol)
การค้นหาข้อมูลโดยใช้เว็บเบราว์เซอร์
การค้นหาข้อมูลแบบต่างๆ ถ้าผู้ใช้ไม่ทราบที่อยู่ของเว็บไซต์ก็สามารถค้นหาโดยใช้บริการข้อมูลจากเว็บค้นหาจากเว็บสืบค้นแหล่งข้อมูลที่เรียกว่า เครื่องมือค้นหา (search engine)
ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น google.com ,yahoo.com เป็นต้น
เทคนิคการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
- วางแผนการหาข้อมูล
- ระบุคำนามเพื่อการค้นหาให้เฉพาะเจาะจงมากที่สุด
- ให้แก้ไขคำหลัก (keywords)ด้วยเครื่องหมาย + (รวม) และ – (ไม่รวม) ซึ้งเครื่องหมาย + จะหาข้อมูลที่มีกลุ่มคำตรงกับผู้ใช้ระบุไว้ ส่วน หาข้อมูลที่มีคำผู้ใช้ระบุคำเดียวโดยไม่รวมคำอื่น
- การค้นหาวลีด้วยเครื่องหมาย “......” ควบคู่ + หรือ –
- พิมพ์ค้นหาภาษาอังกฤษด้วยตัวพิมพ์เล็ก
การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตและเอ็กทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่อนุญาตเฉพาะบุคคลให้เข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศเท่านั้น ดังนั้นบริษัทจึงได้ติดตั้งไฟร์วอลล์ (firewall) ซึ่งเป็นฮาร์แวร์ และ/หรือ เป็นซอฟแวร์ที่ใช้เพื่อป้องกันอันตรายจากผู้ที่ไม่หวังดีเข้าระบบเครือข่ายขององค์กร โดยระบบมีไฟล์วอลล์จะช่วยตรวจสอบกันกรองผู้ที่ติดต่อเข้ามาในระบบเครือข่าย

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้าง ขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยี สารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่ สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดง ผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการ ให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่ เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง

รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มี ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพ ชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่ง ชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหาร ระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนัก งานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวง วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่ เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่ เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงาน เลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่ง เสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการ ตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่

ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้ คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลก เปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้ คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)

การดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษานั้น ดำเนินการมาก่อนหน้านี้อีก คือเริ่มดันในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ซึ่งในหน่วย งานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในด้านการเรียนการสอนโดยมีหลักสูตรการศึกษาด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ และวิชาการที่เกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีการนำ คอมพิวเตอร์มาช่วยการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทะเบียนนักศึกษา สำหรับกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ในสำนักงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ทางด้านทบวง มหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมระดับภูมิภาคอา เซียน เรื่องการศึกษาและระบบสารสนเทศภายใต้โครงการ พัฒนาการศึกษาอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นจุด เริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาการสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
พ.ศ. 2526 ได้จัดตั้ง ศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ศ.ส.ษ.) ขึ้น โดยความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มี ข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการ และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศทางการศึกษาที่จำเป็นต่อการกำหนดนโยบาย การวางแผนการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาของประเทศ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่กำหนดนิยามที่จำเป็นต้องใช้ใน ระบบสารสนเทศทางการศึกษา กำหนดมาตรฐาน ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกข้อมูลและจัดกระทำข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ได้ตามความ ต้องการ รวมทั้งการกำหนดขอบข่ายการประสานงานของระบบ สารสนเทศทางการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่ วิชาการ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการ ศึกษาของประเทศ
ในแผน พัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้ให้ความ สำคัญอย่างยิ่งแก่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีแผนงานหลักเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่ 9 แผนงานหลัก แผนงานหลักที่ 9 เป็นแผนเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ศึกษา ในแผนงานหลักที่ 9 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษานั้นได้มี แนวคิดว่า สำหรับระบบการศึกษาก็ได้ตระหนักถึง ความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเช่นเดียวกันโดยหน่วยงานทางการศึกษาและที่ เกี่ยวข้องได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดเก็บ การให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ใน การกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาการศึกษา การบริหารการศึกษา และการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ ที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การดำเนิน งานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะเป็นไปอย่างอิสระทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ ประกอบกับขาดความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อ เชื่อมระบบซอฟแวร์ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อันได้แก่ ปัญหาการผลิตข้อมูลปฐมภูมิที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนตาม ที่ผู้ต้องการใช้ ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลทุติย ภูมิ ปัญหาการประสานงานเครือข่าย รวมทั้งปัญหา การดำเนินงานสารสนเทศ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่ง ผลไปถึงการจัดการศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการ ดำเนินงาน
จากปัญหาข้างต้น จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วย งานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ สามารถประสานการดำเนินงาน และการนำ ทรัพยากรมาใช้ในการบริหารการวางแผนการจัดการศึกษา และการฝึกอบรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็น หน่วยประสานงานกลาง ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อ การศึกษา

***********************

ปัจจุบันผูบริหารในการศึกษาไดนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชและมี บทบาทความสำคัญในการบริหารจัดการศึกษากันมากขึ้น อาทิ เชน

1. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจ การตัดสินใจที่ดีจะต้องรวดเร็วและไมผิดพลาด และการตัดสินใจที่รวดเร็วและไมผิดพลาดนั้นจําเป็น ต้องมี ข้อมูลสารสนเทศที่ เป็นปัจจุบันไมล้าสมัย มีจํานวนมากเพียงพอ และสามารถนํามาใชไดง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยเรื่องนี้เป็นอย่างดี ระบบสารสนเทศที่ผูบริหารนํามาใชในการตัดสินใจมีดังนี้
1.1 ระบบสารสนเทศสําหรับผูบริหาร (Executive Systems) หรือ “EIS” ในบางครั้งอาจเรียกว่า ระบบ สนับสนุนผู้บริหาร” (Executive Support Systems) หรือ “ESS” ระบบ EISเป็นระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศที่เหมาะสมในการ ตัดสินใจของผูบริหารระดับสูงช่วยให้ ผู้บริหารสามารถทําความเข้าใจ ปัญหาอย่างชัดเจน และสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางแกปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support) หรือ DSS ระบบ DSS เป็นระบบที่ ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อใชสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ระบบDSS จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผูบริหารแตจะไมทําการตัดสินใจแทน ผู้บริหาร โดยประมวลผลและนําเสนอข้อมูล ที่สําคัญต่อการตัดสินใจ ตลอดจนประเมินทางเลือกที่เหมาะสมภายใตข้อจํากัดของแต่ละสถานการณ เพื่อใหผู้บริหารใช
สติปญญา เหตุผล ประสบการณ และความคิดสร้างสรรคของตนวิเคราะหและเปรียบเทียบทางเลือกใหสอดคล้องกับ ปัญหาหรือสถานการณนั้นๆ

2. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารงานทางไกล มีการนําสื่อหลายๆอย่าง เช่น โทรศัพทมือถือ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน คอมพิวเตอร และเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม มาใชในการติดต่อการสื่อสารและการบริหารงานทางไกลไดสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จายเป็น อันมาก ถึงแมจะอยูไกลกันก็สามารถทํางานร่วมกัน ประชุมร่วมกันไดโดยใช Teleconference เป็นต้น

3. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารสถานศึกษา ปัจจุบันสถานศึกษาหลายแห่ง พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อใชในการบริหารงานด้านต่างๆ ทั้งการบริหารงานวิชาการ การบริหารกิจการนักเรียน การบริหารงานบุคลากร การบริหารงานธุรการ การเงิน พัสดุ ครุภัณฑ การบริหารงานอาคารสถานที่และการการบริหารงานชุมชน

4. การสร้างเครือข่ายข้อมูล (Network) ด้วยระบบสารสนเทศ เครือข่ายนี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยเป็นอันมาก ปัจจุบันมี โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอรโรงเรียนมัธยม (Schoolnet) ซึ่งเป็นโครงการ
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หนึ่งในหลายโครงการที่เกิดขึ้นตามพระราชดําริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสคอมพิวเตอรแห่งชาติ ไดนําแนวพระราชดําริ มาดําเนินการร่วมกับหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกรมสามัญศึกษา(เดิม)

5. การนํานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา ในปัจจุบันผูบริหาร หน่วยงานทางการศึกษานํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมา ใชในการจัดการศึกษา เป็นประโยชนต่อการเรียนรูหลายอย่าง อาทิเช่น
5.1 อินเตอร์เน็ต (Internet) เพื่อใชในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรูตลอดชีวิต
5.2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส (Electronic Mail หรือ E-mail) เพื่อใชรับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานใหครูอาจารยตรวจ
5.3 การจัดทํา Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพรขาวสารของสถานศึกษา เป็นการประชาสัมพันธระหว่างสถานศึกษากับ ผู้ที่เกี่ยวของ และบุคคลทั่วไป
5.4 การใชโปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะหข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชนต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย การทําวิจัยสถานบันของฝ่ายบริหาร และอื่น ๆ
5.5 การทํา PowerPoint เพื่อใชในการเรียนการสอนของครูอาจารย และใชเสนอผลงานของ ผู้บริหารสถานศึกษา
5.6 คอมพิวเตอรช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) เพื่อช่วยใหผู้เรียนเรียนรูด้วยตนเองจากบทเรียนสําเร็จรูปในคอมพิวเตอร
5.7 การเรียนรูผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่า
E-Learning เป็นการเรียนทางไกลที่ผูเรียนสามารถโตตอบกับผู้สอนได โดยอาศัยเครือข่าย อินเตอร์เน็ต จึงช่วยใหเรียนรู้ไดโดยไม่มีข้อจํากัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผูเรียนจะสามารถเรียนรูไดตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพการเรียนรูของผู้ เรียนไดเป็นอย่างดี
5.8 ห้องเรียนอัจฉริยะ (Electronic Classroom หรือ E-Classroom) เป็นการจัดระบบบริหารจัดการ
ห้องเรียน ที่ใชการเรียนการสอนแบบ on-line และ ปฏิสัมพันธ (interactive) สามารถควบคุมและและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนไดโดยตรงจากเครื่องคอมพิวเต อรของครูแบบ real time
5.9 หนังสืออิเล็กทรอนิกส (E-book) และ หองสมุดอิเล็กทรอนิกส (E-Library) เพื่อเสริม การเรียนการสอน และใหบริการค้นคว้าหาความรูแกนักเรียน ครูอาจารย และประชาชน
5.10 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT” (Information and Communication Technologies) เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสําคัญที่จะนําเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารมาใช เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาครูอาจารย การช่วยใหเด็กและเยาวชนไดเข้าถึงแหล่งความรูและไดเรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด

ดังนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โนเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคของการปฎิรูปการศึกษา ผู้บริหารการศึกษายุคใหมต่างก็นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชประโย ชนใน การบริหารจัดการศึกษา เพื่อใหประสบผลสําเร็จในการพัฒนาคุณภาพผูเรียนไดอย่างมีประสิทธิภาพสูง

(อ้างอิง จากเอกสารชุดวิชา การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ : สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2546. เผยแพรโดย ดร.ไพฑูรย ศรีฟ้า www.paitoon-srifa.com/moodle )

การเป็นสมาชิกบล็อก

1.เข้าไปที่ http://www.blongger.com/
2.คลิ๊กที่สร้างบล็อก

3.กรอบบัญชี google


4.ตั้งชื่อเว็บบล็อก


5.เลือกแม่แบบ



6.เส็รจสิ้น