วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้าง ขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยี สารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่ สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดง ผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการ ให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่ เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง

รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มี ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพ ชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่ง ชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหาร ระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนัก งานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวง วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่ เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่ เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงาน เลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่ง เสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการ ตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่

ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้ คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลก เปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้ คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)

การดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษานั้น ดำเนินการมาก่อนหน้านี้อีก คือเริ่มดันในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ซึ่งในหน่วย งานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในด้านการเรียนการสอนโดยมีหลักสูตรการศึกษาด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ และวิชาการที่เกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีการนำ คอมพิวเตอร์มาช่วยการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทะเบียนนักศึกษา สำหรับกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ในสำนักงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ทางด้านทบวง มหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมระดับภูมิภาคอา เซียน เรื่องการศึกษาและระบบสารสนเทศภายใต้โครงการ พัฒนาการศึกษาอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นจุด เริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาการสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
พ.ศ. 2526 ได้จัดตั้ง ศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ศ.ส.ษ.) ขึ้น โดยความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มี ข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการ และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศทางการศึกษาที่จำเป็นต่อการกำหนดนโยบาย การวางแผนการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาของประเทศ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่กำหนดนิยามที่จำเป็นต้องใช้ใน ระบบสารสนเทศทางการศึกษา กำหนดมาตรฐาน ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกข้อมูลและจัดกระทำข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ได้ตามความ ต้องการ รวมทั้งการกำหนดขอบข่ายการประสานงานของระบบ สารสนเทศทางการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่ วิชาการ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการ ศึกษาของประเทศ
ในแผน พัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้ให้ความ สำคัญอย่างยิ่งแก่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีแผนงานหลักเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่ 9 แผนงานหลัก แผนงานหลักที่ 9 เป็นแผนเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ศึกษา ในแผนงานหลักที่ 9 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษานั้นได้มี แนวคิดว่า สำหรับระบบการศึกษาก็ได้ตระหนักถึง ความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเช่นเดียวกันโดยหน่วยงานทางการศึกษาและที่ เกี่ยวข้องได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดเก็บ การให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ใน การกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาการศึกษา การบริหารการศึกษา และการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ ที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การดำเนิน งานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะเป็นไปอย่างอิสระทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ ประกอบกับขาดความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อ เชื่อมระบบซอฟแวร์ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อันได้แก่ ปัญหาการผลิตข้อมูลปฐมภูมิที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนตาม ที่ผู้ต้องการใช้ ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลทุติย ภูมิ ปัญหาการประสานงานเครือข่าย รวมทั้งปัญหา การดำเนินงานสารสนเทศ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่ง ผลไปถึงการจัดการศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการ ดำเนินงาน
จากปัญหาข้างต้น จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วย งานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ สามารถประสานการดำเนินงาน และการนำ ทรัพยากรมาใช้ในการบริหารการวางแผนการจัดการศึกษา และการฝึกอบรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็น หน่วยประสานงานกลาง ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อ การศึกษา

***********************

ปัจจุบันผูบริหารในการศึกษาไดนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชและมี บทบาทความสำคัญในการบริหารจัดการศึกษากันมากขึ้น อาทิ เชน

1. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจ การตัดสินใจที่ดีจะต้องรวดเร็วและไมผิดพลาด และการตัดสินใจที่รวดเร็วและไมผิดพลาดนั้นจําเป็น ต้องมี ข้อมูลสารสนเทศที่ เป็นปัจจุบันไมล้าสมัย มีจํานวนมากเพียงพอ และสามารถนํามาใชไดง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยเรื่องนี้เป็นอย่างดี ระบบสารสนเทศที่ผูบริหารนํามาใชในการตัดสินใจมีดังนี้
1.1 ระบบสารสนเทศสําหรับผูบริหาร (Executive Systems) หรือ “EIS” ในบางครั้งอาจเรียกว่า ระบบ สนับสนุนผู้บริหาร” (Executive Support Systems) หรือ “ESS” ระบบ EISเป็นระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศที่เหมาะสมในการ ตัดสินใจของผูบริหารระดับสูงช่วยให้ ผู้บริหารสามารถทําความเข้าใจ ปัญหาอย่างชัดเจน และสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางแกปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support) หรือ DSS ระบบ DSS เป็นระบบที่ ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อใชสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ระบบDSS จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผูบริหารแตจะไมทําการตัดสินใจแทน ผู้บริหาร โดยประมวลผลและนําเสนอข้อมูล ที่สําคัญต่อการตัดสินใจ ตลอดจนประเมินทางเลือกที่เหมาะสมภายใตข้อจํากัดของแต่ละสถานการณ เพื่อใหผู้บริหารใช
สติปญญา เหตุผล ประสบการณ และความคิดสร้างสรรคของตนวิเคราะหและเปรียบเทียบทางเลือกใหสอดคล้องกับ ปัญหาหรือสถานการณนั้นๆ

2. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารงานทางไกล มีการนําสื่อหลายๆอย่าง เช่น โทรศัพทมือถือ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน คอมพิวเตอร และเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม มาใชในการติดต่อการสื่อสารและการบริหารงานทางไกลไดสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จายเป็น อันมาก ถึงแมจะอยูไกลกันก็สามารถทํางานร่วมกัน ประชุมร่วมกันไดโดยใช Teleconference เป็นต้น

3. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารสถานศึกษา ปัจจุบันสถานศึกษาหลายแห่ง พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อใชในการบริหารงานด้านต่างๆ ทั้งการบริหารงานวิชาการ การบริหารกิจการนักเรียน การบริหารงานบุคลากร การบริหารงานธุรการ การเงิน พัสดุ ครุภัณฑ การบริหารงานอาคารสถานที่และการการบริหารงานชุมชน

4. การสร้างเครือข่ายข้อมูล (Network) ด้วยระบบสารสนเทศ เครือข่ายนี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยเป็นอันมาก ปัจจุบันมี โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอรโรงเรียนมัธยม (Schoolnet) ซึ่งเป็นโครงการ
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หนึ่งในหลายโครงการที่เกิดขึ้นตามพระราชดําริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสคอมพิวเตอรแห่งชาติ ไดนําแนวพระราชดําริ มาดําเนินการร่วมกับหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกรมสามัญศึกษา(เดิม)

5. การนํานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา ในปัจจุบันผูบริหาร หน่วยงานทางการศึกษานํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมา ใชในการจัดการศึกษา เป็นประโยชนต่อการเรียนรูหลายอย่าง อาทิเช่น
5.1 อินเตอร์เน็ต (Internet) เพื่อใชในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรูตลอดชีวิต
5.2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส (Electronic Mail หรือ E-mail) เพื่อใชรับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานใหครูอาจารยตรวจ
5.3 การจัดทํา Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพรขาวสารของสถานศึกษา เป็นการประชาสัมพันธระหว่างสถานศึกษากับ ผู้ที่เกี่ยวของ และบุคคลทั่วไป
5.4 การใชโปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะหข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชนต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย การทําวิจัยสถานบันของฝ่ายบริหาร และอื่น ๆ
5.5 การทํา PowerPoint เพื่อใชในการเรียนการสอนของครูอาจารย และใชเสนอผลงานของ ผู้บริหารสถานศึกษา
5.6 คอมพิวเตอรช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) เพื่อช่วยใหผู้เรียนเรียนรูด้วยตนเองจากบทเรียนสําเร็จรูปในคอมพิวเตอร
5.7 การเรียนรูผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่า
E-Learning เป็นการเรียนทางไกลที่ผูเรียนสามารถโตตอบกับผู้สอนได โดยอาศัยเครือข่าย อินเตอร์เน็ต จึงช่วยใหเรียนรู้ไดโดยไม่มีข้อจํากัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผูเรียนจะสามารถเรียนรูไดตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพการเรียนรูของผู้ เรียนไดเป็นอย่างดี
5.8 ห้องเรียนอัจฉริยะ (Electronic Classroom หรือ E-Classroom) เป็นการจัดระบบบริหารจัดการ
ห้องเรียน ที่ใชการเรียนการสอนแบบ on-line และ ปฏิสัมพันธ (interactive) สามารถควบคุมและและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนไดโดยตรงจากเครื่องคอมพิวเต อรของครูแบบ real time
5.9 หนังสืออิเล็กทรอนิกส (E-book) และ หองสมุดอิเล็กทรอนิกส (E-Library) เพื่อเสริม การเรียนการสอน และใหบริการค้นคว้าหาความรูแกนักเรียน ครูอาจารย และประชาชน
5.10 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT” (Information and Communication Technologies) เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสําคัญที่จะนําเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารมาใช เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาครูอาจารย การช่วยใหเด็กและเยาวชนไดเข้าถึงแหล่งความรูและไดเรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด

ดังนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โนเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคของการปฎิรูปการศึกษา ผู้บริหารการศึกษายุคใหมต่างก็นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชประโย ชนใน การบริหารจัดการศึกษา เพื่อใหประสบผลสําเร็จในการพัฒนาคุณภาพผูเรียนไดอย่างมีประสิทธิภาพสูง

(อ้างอิง จากเอกสารชุดวิชา การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ : สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2546. เผยแพรโดย ดร.ไพฑูรย ศรีฟ้า www.paitoon-srifa.com/moodle )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น